วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553

รายชื่อผู้ก่อตั้งบล๊อก

รายชื่อผู้จัดทำ

DSC00932.JPG
1.นายธีริทธิ์ อังคทะวานิช ม.6/4 เลขที่ 6

100_2831.JPG
2.นายจักรกฤษ ชนะชาญ ม.6/4 เลขที่ 7

P1010576.JPG
3.นายณกฤษ ชินรุ่งโรจน์ ม.6/4 เลขที่ 8

R_R0000341.JPG
4.นายนิติพัฒน์ จิตบวรรัตน์ ม.6/4 เลขที่ 10

P1013320.JPG
5.นายชาญสิทธิ์ จ่าสะอาด ม.6/4 เลขที่ 16

VFs3Vs519648-02.jpg
6.นายปรัชญ์ ประสิทธิเม ม.6/4 เลขที่ 21


ขอขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชม

นั่งอ่านหนังสืออยู่ดีๆ
ก็เริ่มปล่อยใจ
....
ใจอยู่นิ่งๆ
ปล่อยไปในแนวดิ่ง
ความเร็วต้นเท่าไหร่?

ใจอยู่ต่างกัน
ออกเดินไม่พร้อมกัน
กว่าใจจะพบกัน
ใช้เวลาเท่าไหร่?

ใจหนึ่งอยู่สูง
อีกใจอยู่ต่ำ
ใจที่อยู่ต่ำ
จะพบใจสูงได้ไหม?

ลองใช้สูตรคิดดู

1. v = u+gt ใช้เมื่อไม่สนใจ s

2. s = [v+u]/2 t ใช้เมื่อไม่สนใจ a

3. s= ut + 1/2gtt ใช้เมื่อไม่สนใจ v

4. vv = uu + 2as ใช้เมื่อไม่สนใจ t

....

ไม่มีสูตรไหนเลยที่ไม่สนใจ u

แสดงว่า u ต้องน่าสนใจ

....
ทุกสูตรสนใจ u

ทุกคนสนใจ u

Everybody like U ไม่เว้นแม้แต่ I


ฝากไว้เฉยหลังจากเครียดๆ

พลังงานความร้อน

พลังงานความร้อน
พลังงานความร้อนเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่สามารถทำงานได้และเปลี่ยนรูปมาจากการ เผาไหม้ของเชื้อเพลิง จากดวงอาทิตย์ พลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อนใต้พิภพ หรือเกิดจากปฏิกิริยาเคมี พลังงานเหล่านี้ล้วนแต่มีความสำคัญในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต

อุณหภูมิ
การ บอกค่าพลังงานความร้อนของสารต่าง ๆ ว่าร้อนมาหรือน้อยเพียงใดนั้น นักวิทยาศาสตร์เรียกนะดับความร้อนของสารเหล่านั้นว่า อุณหภูมิ (temperature) เครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิเรียกว่า เทอร์มอมิเตอร์ (thermometer) เทอร์โมมิเตอร์ มักผลิตมาจากปรอทหรือแอลกอฮอล์ เมื่อของเหลวได้รับความร้อนจะมีการขยายตัวไปตามช่องเล็กๆ ซึ่งมีสเกลบอกอุณหภูมิเป็นตัวเลข มีหน่วยเป็นองศาเซลเซียส หรือองศาฟาเรนไฮต์
หน่วยที่ใช้วัดอุณหภูมิ
1. องศาเซลเซียส ( oC )
2. องศาฟาเรนไฮต์ ( oF)
3. เคลวิน ( K )

ในการเปลี่ยนแปลงหน่วยวัดอุณหภูมิจากหน่วยหนึ่งไปยังอีกหน่วยหนึ่งใช้สูตร ความสัมพันธ์ดังนี้

oC/5 = oF -32/9 = K - 273/5

ตัวอย่าง อุณหภูมิร่างกายของคนเราปกติคือ 37 องศาเซลเซียส จะมีค่าเท่าใดในหน่วยองศาฟาเรนไฮต์
วิธีทำ จากสูตร oC/5 = oF-32/9
37/5 = oF-32/9
7.4 x 9 = oF - 32
66.6 = oF - 32
oF = 66.6 + 32
= 98.6 oF
ดังนั้นอุณหภูมิร่างกายของคนปกติจะเท่ากับ 98.6 ฟาเรนไฮต์

การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
การถ่ายเทหรือถ่ายโอนพลังงานความร้อนมีหลายแบบดังนี้

1. การนำความร้อน
การนำความร้อนเป็นการส่งผ่านความร้อนที่ต้องมีตัวกลาง ตัวกลางจะไม่เคลื่อนที่ แต่ความร้อนจะเคลื่อนที่ไปตามเนื้อของตัวกลาง เช่นการเผาด้านหนึ่งของแท่งเหล็ก ความร้อนจะเคลื่อนที่ไปตามเนื้อของแท่งเหล็กจนทำให้ปลายอีกข้างร้อนตามไป ด้วย การนำความร้อนของวัตถุแต่ละชนิดไม่เท่ากัน เช่น เหล็กจะนำความร้อนได้ดีกว่า แท่งแก้ว วัตถุที่นำความร้อนได้เร็วเรียกว่า ตัวนำความร้อน วัตถุที่นำความร้อนได้ไม่ดีหรือช้า เรียกว่า ฉนวนความร้อน

2. การพาความร้อน
การพาความร้อนเป็นการส่งผ่านความร้อนที่มีการเคลื่อนที่ของตัว กลาง เช่น การที่เรานั่งรอบกองไฟแล้วรู้สึกร้อน ก็เพราะอากาศได้พาเอาความร้อนเคลื่อนที่มีถูกตัวเรา

3. การแผ่รังสีความร้อน
การแผ่รังสีความร้อน เป็นการถ่ายโอนพลังงานความร้อนจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ซึ่งความร้อนที่ออกจากแหล่งกำเนิดจะอยู่ในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถ เคลื่อนที่ไปยังอีกจุดหนึ่งโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางและมีอัตราเร็วในการ เคลื่อนที่สูงมาก

สมดุลความร้อน
สมดุลความร้อน หมายถึง การที่วัตถุมีอุณหภูมิสูงถ่ายโอนพลังงานความร้อนให้กับวัตถุที่มีอุณหภูมิ ต่ำจนกระทั่งวัตถุทั้งสองมีอุณหภูมิเท่ากันแล้วจึงจะหยุดการถ่ายโอนพลังงาน

การ ขยายตัวของวัตถุ
เมื่อวัตถุได้รับพลังงานความร้อน ทำให้อุณหภูมิในวัตถุเพิ่มขึ้น วัตถุจะขยายตัว และเมื่อวัตถุคายพลังงานความร้อนทำให้อุณหภูมิของวัตถุลดลง วัตถุจะหดตัว

พลังงานกล

พลังงานกล
พลังงาน กลเป็นพลังงานที่เกี่ยวข้องกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่หรือพร้อมที่จะ เคลื่อนที่ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ พลังงานศักย์และพลังงานจลน์
1. พลังงานศักย์ (potential energy : Ep ) คือ พลังงานที่สะสมอยู่ในตัววัตถุหรือสสารที่หยุดนิ่งอยู่กับที่ยังไม่เกิดการ เคลื่อนที่ ถ้าวัตถุอยู่บนพื้นที่สูงจากระดับพื้นดินขึ้นไป พลังงานที่สะสมอยู่ในตัวของวัตถุนี้จะเกิดจากแรงดึงดูดของโลกจึงเรียกว่า "พลังงาน ศักย์โน้มถ่วง"
การคำนวณพลังงานศักย์โน้มถ่วงใช้สูตรดังนี้

Ep = mgh

2. พลังงานจลน์ ( kinetic energy : Ek ) คือ พลังงานที่มีอยู่ในวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่
การคำนวณพลังงานจลน์ใช้สูตรดัง
Ek = 1/2mv2
กฎ การอนุรักษ์พลังงาน
กฎ การอนุรักษ์พลังงาน (Law of conservation of energy) กล่าวไว้ว่า "พลังงานรวมของวัตถุจะไม่สูญหายไปไหน แต่สามารถเปลี่ยนจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้"

พลังงาน

พลังงาน (energy) คือ ความสามารถในการทำงานได้ของวัตถุหรือสสารต่าง ๆ พลังงานสามารถทำให้สสารเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ทำให้สสารร้อนขึ้น เกิดการเคลื่อนที่ เปลี่ยนสถานะเป็นต้น
พลังงานที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันมีหลายรูปแบบ เช่น พลังงานกล พลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า พลังงานแสง พลังงานเคมี พลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น
หน่วยของพลังงาน พลังงานมีหน่วยเป็นจูล (J)
ประเภทของพลังงาน
พลังงานแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ตามลักษณะที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งได้แก่
1. พลังงานเคมี (Chemical Encrgy)
2. พลังงานความร้อน (Thermal Energy)
3. พลังงานกล (Mechanical Energy)
4. พลังงานจากการแผ่รังสี (Radiant Energy)
5. พลังงานไฟฟ้า (Electrical Energy)
6. พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Energy)
1.พลังงานเคมี
พลังงาน เคมีเป็นพลังงานที่สะสมอยู่ในสารต่างๆ โดยอยู่ในพันธะระหว่างอะตอมในโมเลกุล เมื่อพันธะแตกสลาย พลังงานสะสมจะถูกปล่อยออกมาในรูปของความร้อนและแสงสว่าง ตัวอย่างเช่น พลังงานที่ถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่, พลังงานในกองฟืน, พลังงานในขนมชอกโกแลต, พลังงานในถังน้ำมัน เมื่อไม้ลุกไหม้แล้วจะให้คาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำ รวมถึงผลิตของเสียอื่นๆ เช่น ขี้เถ้า เนื่องจากเชื้อเพลิงที่ใช้แต่ละชนิด มีโครงสร้างทางเคมีที่ต่างกัน เมื่อใช้ในปริมาณเชื้อเพลิงที่เท่ากัน จึงให้ความร้อนไม่เท่ากัน ซึ่งก๊าซธรรมชาตินั้นให้ความร้อนมากกว่าน้ำมัน และน้ำมันนั้นก็ให้ความร้อนมากกว่าถ่านหิน
2.พลัง งานความร้อน
แหล่งกำเนิดพลังงานความร้อน มนุษย์เราได้พลังงานความร้อนมาจากหลายแห่งด้วยกัน เช่น จากดวงอาทิตย์, พลังงานในของเหลวร้อนใต้พื้นพิภพ , การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง, พลังงานไฟฟ้า, พลังงานนิวเคลียร์, พลังงานน้ำในหม้อต้มน้ำ, พลังงานเปลวไฟ ผลของความร้อนทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิสูงขึ้น หรือมีการเปลี่ยนสถานะไป และนอกจากนี้แล้ว พลังงานความร้อน ยังสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้อีกด้วย หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อน คือ แคลอรี่ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า แคลอรี่มิเตอร์
3. พลังงานกล
พลังงานกลเป็นพลังงานที่เกี่ยวข้อง กับการเคลื่อนที่โดยตรง เช่น ก้อนหินที่อยู่บนยอดเนินจะมีพลังงานศักย์กล (Potential mechanical energy) อยู่จำนวนหนึ่ง ขณะที่ก้อนหินกลิ้งลงมาตามทางลาดของเนิน พลังงานศักย์จะลดลง และเกิดพลังงานจลน์กลของการเคลื่อนที่ (Kinetic mechanical energy) ขึ้นแทน สิ่งมีชีวิตอาศัยพลังงานรูปนี้ในการทำงานที่ต้องมีการ เคลื่อนไหวเป็นประจำ เช่น การเดิน การขยับแขนขา การหยิบวัตถุ เป็นต้น
4. พลังงานจากการแผ่รังสี
พลังงานที่มาในรูปของ คลื่น เช่น แสง ความร้อน คลื่นวิทยุ อินฟาเรด อัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ รังสีคอสมิก สิ่งมีชีวิตต้องอาศัยพลังงานรูปนี้ ในกระบวนการที่สำคัญต่างๆ เช่น การมองเห็นภาพ การสังเคราะห์ด้วยแสง การขยายพันธุ์ชนิดที่ขึ้นอยู่กับช่วงแสง อาจสรุปได้ว่าเป็นพลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นเอง ซึ่งพลังงานรูปนี้มีบทบาทต่อความเป็นอยู่ปกติของสิ่งมีชีวิต และอาจจะได้พลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์, พลังงานจากเสาส่งสัญญาณทีวี, พลังงานจากหลอดไฟ, พลังงานจากเตาไมโครเวฟ, พลังงานจากเลเซอร์ที่ใช้อ่านแผ่นซีดี ฯลฯ
5. พลังงานไฟฟ้า
พลังงานที่ได้จากปฏิกิริยาเคมีแบบ หนึ่งอันมีผลให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นได้ และกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้จะไหลผ่านความต้านทานไฟฟ้าได้ถ้าต่อให้เป็นวงจร ผลจากกระแสไฟฟ้าดังกล่าวอาจทำให้เกิดผลต่าง ๆ เช่นก่อให้เกิดอำนาจแม่เหล็ก เกิดความร้อนหรือแสงสว่าง พลังงานที่เกิดจากการผ่านขดลวดไปในสนามแม่เหล็ก, พลังงานที่ใช้ขับเครื่องคอมพิวเตอร์, พลังงานที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นต้น
6. พลังงานนิวเคลียร์
พลังงานที่ถูกปล่อยออกจากสารกัมมันตภาพรังสี ที่มีอยู่ในธรรมชาติหรือที่เกิดในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูหรือระเบิดปรมาณู การเกิด fusion ของนิวเคลียร์เล็ก มีหลักอยู่ว่า ถ้านำเอาธาตุเบาๆ ตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไป มารวมกันโดยมีพลังงานความร้อนอย่างสูงเข้าช่วย จะทำให้ธาตุเบาๆ นี้รวมกัน กลายเป็นธาตุใหม่ ซึ่งหนักกว่าเดิม ส่วน fission เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างการยิงอนุภาคบางชนิดกับนิวเคลียสของธาตุหนักๆ ทำให้นิวเคลียสของธาตุหนักแตกแยกออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนเป็นธาตุที่เบากว่าเดิม และขนาดเกือบเท่าๆ กัน พลังงานรูปนี้มีบทบาทต่อความเป็นอยู่ปกติของสิ่งมีชีวิตน้อย

งาน

งานและพลังงาน
งาน (work)
งาน (work) คือ ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุแล้วทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปตามแนวราบ งานเป็นปริมาณที่สามารถคำนวณได้จากความสัมพันธ์ดังต่อไปนี้

งาน = แรง (นิวตัน) x ระยะทาง (เมตร)

เมื่อ W คือ งาน มีหน่วยเป็นจูล ( J ) หรือนิวตันเมตร (N-m)
F คือ แรงที่กระทำ มีนหน่วยเป็นนิวตัน ( N )
s คือ ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปตามแนวราบ มีหน่วยเป็นเมตร ( m )

จะได้สูตรคำนวณหางาน คือ F = W x s

ตัวอย่าง วินัยออกแรงยกกล่องด้วยแรง 30 นิวตัน แล้วเดินขึ้นบันได 5 ขั้น แต่ละขั้นสูง 20 เซนติเมตรงานที่วินัยทำจากการยกกล่องขึ้นบันไดมีค่าเท่าใด

วิธีทำ จากโจทย์ความสูงของขั้นบันใด = 5 x 20
= 100 cm
= 1 m
จากสูตร W = F x s
= 30 x 1
= 30 J
ตอบ วินัยทำงานจากการลากกล่องได้ 30 จูล

วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553

ด้วยรักของแม่(ก่อนจะเข้าบทเรียน)

รักใดไหนเล่าเท่ารักแม่...วีรกรรมสุดยิ่งใหญ่ของแม่ที่ลูกทุกคนต้องอ่าน!
ตึกเซนต์หลุยส์มารี โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถม ราวกลางปี พ.ศ.2539
“มิสคะ ช่วงพักเที่ยงจะมีผู้ปกครองมารอพบสองท่านที่หน้าห้องรับรองค่ะ”
โทรศัพท์แจ้งจากห้องประชาสัมพันธ์ทำให้มิสอุไรพร นาคะเสถียร
ครูสาวประจำระดับชั้นป.4 รู้สึกแปลกใจเล็กน้อย
เพราะจำได้ว่ามีการโทรนัดหมายจะมาพบจากคุณแม่ท่านหนึ่งเพียงท่านเดียวใน วันนี้
เอ...ใครล่ะนี่ จะมีเรื่องอะไรรึเปล่านะ
เมื่อมิสอุไรพรเดินมาถึงหน้าห้องประชาสัมพันธ์
ครูสาวก็แทบยกมือรับไหว้จากสุภาพสตรีทั้งสองท่านไม่ทัน
หากก็รู้สึกแปลกใจที่เห็นคุณแม่ท่านหนึ่งยกมือไหว้แต่เพียงแขนข้างเดียว
อย่างไรก็ตามมิสได้เชิญคุณแม่ท่านแรก
เข้าไปคุยก่อนตามลำดับการนัดโดยเก็บงำความแปลกใจไว้
หลังจากคุยกับคุณแม่ท่านแรกเสร็จมิสจึงเชิญคุณแม่อีกท่านเข้ามาคุยในห้อง รับรอง
ภาพแรกที่ได้เห็นชัดๆทำให้ครูสาวตกใจเล็กน้อย
แขนซ้ายของคุณแม่เป็นแขนเทียม คุณแม่มาปรึกษาเรื่อง การเรียนของลูก
เพราะไม่ได้มาในวันนัดพบผู้ปกครองประจำปีเมื่อต้นปีการศึกษาที่ผ่านมา
“ลูกเขาไม่อยากให้มา เขาว่าเขาอายที่แม่ใส่แขนเทียม
กลัวโดนเพื่อนล้อแม่มาทีเพื่อนก็ล้อกันประจำว่าแม่แขนเดียว
แม่เป็นหุ่นยนต์เหรอ อะไรนี่น่ะค่ะ เลยไม่ได้มา”
น้ำเสียงของคุณแม่แฝงแววเอ็นดูมากกว่าที่จะโกรธหรือไม่พอใจ
มิสอุไรพรขออนุญาตซักถามเกี่ยวกับสาเหตุที่คุณแม่ต้องใส่แขนเทียม
> >
เมื่อได้ทราบความจริงทั้งหมดครูสาวก็ตัดสินใจแน่วแน่ว่าจะต้องจัดการ
เรื่องที่ลูกไม่ยอมรับและไม่เข้าใจแม่นี้โดยเร็ว
หากปล่อยเรื่องนี้ไป...ก็จะเป็นบาปอันหนักยิ่งติดตัวเด็กไปในภายหน้า
ทั้งตัวลูกชายและคนที่ล้อเพื่อนด้วย
ช่วงเย็นวันนั้นมีชั่วโมงลูกเสือแต่ฝนตกหนัก
มิสอุไรพรจึงได้โอกาสนำเรื่องนี้มาเล่าให้นักเรียนฟังในห้องเรียน
เรื่องราวที่ว่านั้น มีดังต่อไปนี้

วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2536หลังวันแม่เพียงไม่กี่วัน...
>ครอบครัวหนึ่งได้เดินทางไปเที่ยวนากุ้งที่จังหวั
> > ดสตูล
ครอบครัวนี้ประกอบด้วยคุณพ่อ คุณแม่
และลูกชายอีกสามคนพวกเขาเดินชมนากุ้งไปตามทางเดินซึ่งเป็นคันดิน
ท่ามกลางบรรยากาศสดชื่นของธรรมชาติ
โดยคุณพ่อเดินนำหน้ากับลูกชายคนโตสองคน
ส่วนคุณแม่เดินตามหลังมากับลูกชายคนเล็ก
ทางเดินที่เป็นคันดินนั้นมีการแบ่งเป็นท้องร่องเพื่อติดตั้งระหัดวิดน้ำ
ซึ่งมีใบพัดทำจากเหล็กสูงจากคันดินราว 25ซม
คุณพ่อและลูกคนโตสองคนก็ข้ามท้องร่องแล้วเดินนำต่อไปข้างหน้า
ไม่มีใครฉุกใจคิดระวังถึงเหตุร้าย
แต่แล้วลูกชายคนเล็กกลับก้าวพลาดล้มลงไปในท้องร่อง
ขากางเกงเข้าไปติดกับร่องของระหัดวิดน้ำที่กำลังหมุนอยู่
และฉุดขาของลูกทั้งสองข้างเข้าไปในใบพัดเหล็ก
“ถ้าเป็นพวกคุณ น้องตกลงไปอย่างนี้คุณจะทำอย่างไร”
มิสหยุดเรื่องไว้ก่อนเพื่อซักถาม มองหน้าเด็กนักเรียน
ทั้งห้องที่นั่งเงียบกริบ หน้าซีด โดยเฉพาะ “ลูกชาย” ของคุณแม่ท่านนั้น
“ทุกคนตกตะลึงใช่มั้ย คิดไม่ทันใช่มั้ย
แต่นักเรียนรู้มั้ยว่าคุณแม่ท่านตัดสินใจทำอย่างไร”
คุณแม่ไม่ยอม เสียเวลาคิดอะไรเลย
ท่านรีบยึดดึงตัวลูกเอาไว้แล้วเอาแขนซ้ายที่ว่างอยู่เข้าไปขวางใบพัดเหล็ก ไว้ก่อน...
ใบพัดจึงหมุนเอาแขนของคุณแม่เข้าไป...คนงานที่เห็นเหตุการณ์รีบปิดเครื่อง ทันที
แต่แรงเฉื่อยทำให้ใบพัดยังหมุนต่อด้วยกำลังแรง...
แรงจนกระชากแขนซ้ายของคุณแม ่ขาดสะบั้นลง!
คุณแม่กรีดร้องด้วยความเจ็บปวดทรมานแสนสาหัสสติสัมปชัญญะดับวูบลงในทันที
ท้องร่องทั่วบริเวณแดงฉานไปด้วยเลือด...เลือดของแม่...
> >>ใบพัดเหล็กยังหมุนต่อไปอีกเล็กน้อยและบดเอาขาทั้งสองข้างของลูกชาย คนเล็ก
> >>จนกระดูกหัก...แต่ไม่ขาด
>ไม่ขาด...เพราะแขนซ้ายของแม่ขาดแทน...ไม่ขาด...เพราะแม้จะไร้ซึ่งสติ สัมปชัญญะ
มือขวาของคุณแม่ก็ยังยึดตัวลูกเอาไว้แน่น...ไม่ยอมปล่อย...
คุณพ่อและลูกคนโตทั้งสองคนหันกลับมามองตามเสียงตะโกนเอะอะโวยวายของคนงาน
พร้อมๆกับเสียงกรีดร้องของคุณแม่ ภาพที่เห็นทำให้พวกเขาช็อกจนแทบสิ้นสติ!
คุณพ่อกระโจนพรวดเดียวถึงตัวคุณแม่และลูกน้อย แต่...มันสายเกินไปแล้ว!
สิ่งเดียวที่ทำได้คือรีบพาสองแม่ลูกส่งโรงพยาบาลทันที
ผลของการรักษาคือคุณแม่ต้องใส่แขนเทียมแทนแขนซ้ายที่ขาดไป
> >
>ส่วนลูกคนเล็กที่ขาหักต้องอยู่โรงพยาบาลนานราวสามเดือนจึงสามารถเดิน เหินได้เป็นปกติ
มิสอุไรพรกวาดสายตามองไปรอบๆห้องถามขึ้นอีกว่า
“นักเรียนคิดว่าคุณแม่ท่านนี้กล้าหาญมั้ยคะ”
“กล้าหาญมาก” เด็กๆพากันตอบเป็นเสียงเดียวกันพลางพยักหน้า
หลายๆคนยังหน้าซีดเซียวเมื่อนึกภาพเหตุการณ์ไปตามที่ครูเล่า
มิสมองหน้า “ลูกชาย” ของคุณแม่แล้วบอกต่อว่า
“นักเรียนทราบมั้ยว่าคุณแม่ท่านนี้เป็นคุณแม่ของเพื่อนเราในห้องนี้เองไหน
ใครเป็นลูกของคุณแม่ท่านนี้ยืนขึ้นให้เพื่อนเห็นหน่อยสิ”
เด็กนักเรียนคนนั้นยืนขึ้น ท่ามกลางเสียงปรบมือของเพื่อนทั้งห้อง
“วันนี้เมื่อคุณกลับไปบ้านมิสฝากเรียนคุณแม่ด้วยว่าพวกเราชื่นชม
และยกย่องท่านมากจริงมั้ยพวกเรา”
“จริงครับๆ ใช่ครับๆ” เสียงเล็กๆตอบมาเป็นทางเดียวกัน
“มิสได้ทราบมาว่ามีหลายๆคนไปล้อเลียนเพื่อน ไหน
คนไหนบ้างคะที่เคยล้อคุณแม่เขา ถ้ามีเราเป็นลูกผู้ชายต้องกล้ารับค่ะ”
มีนักเรียน 3-4 คนยืนขึ้น สีหน้าของแต่ละคนซีดเซียวอย่างสำนึกผิด
มิสอุไรพรมองหน้าของเด็กกลุ่มนี้อย่างอ่อนโยน ถามว่า
“ดีมากนักเรียน ตอนนี้คุณคงอยากพูดอะไรกับเพื่อนใช่มั้ยคะ”
เด็กชายกลุ่มนั้นเดินเข้าไปโอบกอดคอแล้ว กล่าวขอโทษเพื่อนด้วยความจริงใจ
ครูสาวน้ำตาคลอ ยืนมองภาพนั้นด้วยความปลาบปลื้มยินดีหนักใจอยู่เหมือนกันว่า
หากถามขึ้นมาแล้วไม่มีใครยอมรับว่าเคยล้อเพื่อน...จะทำอย่างไร?
เธอไม่เคยผิดหวังในตัวนักเรียนอัสสัมชัญและจนถึงเวลานี้ก็ยังคงไม่ผิดหวัง
ใครเล่า...จะเข้าใจความเจ็บช้ำขมขื่นในหัวใจเล็กๆของเด็กชายคนหนึ่ง
ที่ถูกเพื่อนล้อเลียนประสาเด็กโดยไม่ทันคิด


หากบัดนี้...ความรักของแม่และน้ำใจของเพื่อนได้สลายปมด้อยในใจ
ของเด็กคนนี้ลงจนสิ้นแล้ว เหลือเพียงความรักและภาคภูมิใจในตัวคุณแม่เท่านั้น
เมื่อหมดชั่วโมงเรียน มิสอุไรพรได้เรียกตัว “ลูกชาย” เข้าไปคุยอีกครั้ง
“วันนี้เรามีอะไรในใจที่คิดว่าควรพูดกับคุณแม่มั้ยคะ”
เด็กคนนั้นนิ่งคิดไปชั่วครู่ก่อนจะตอบเสียงสั่นปนสะอื้นไห้ว่า
“ผม...ผมจะไปขอโทษคุณแม่แล้ว...แล้วบอกคุณแม่ว่าผมรักคุณแม่ที่สุดในโลกเลย ครับ”
รู้มั้ยน้ำนมหยดหนึ่งซึ่งไหลมาต้องใช้น้ำตาหยาดเหงื่อสักเท่าไหร่
บอกแม่เถอะนะ บอกทุกวัน ว่ารักท่านมากมาย
กอดแม่เถอะนะ ให้คุ้นเคย กอดเลยไม่ต้องอาย
ก่อนไม่มีแม่ให้กอด...

โจทย์ไฟฟ้ากระแสสลับ

1.) สมการของแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ คือ V= 110 sin 200 t ในหน่วยโวลต์ จงหา
ก. ค่าสูงสุดของแรงเคลื่อนไฟฟ้า
ข. ค่ายังผลของแรงเคลื่อนไฟฟ้า
ค. ความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับ
-----------------------------------------------------------------------------------------

2.) จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. ค่ากระแสและค่าความต่างศักย์ของไฟฟ้ากระแสสลับที่เรียกว่าค่ายังผลเป็นค่าเดี่ยวกับค่าที่มิเตอร์อ่านได้
ข. ค่ากระแสสลับที่อ่านได้จากมิเตอร์หมายถึงค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยกำลังสองของกระแสสลับ
ค. ค่ายังผลของค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าในบ้านคือ 220 โวลต์

ข้อความที่ถูกต้องคือ
1. ก. ข. และ ค.
2. ก. และ ค.
3. ค. เท่านั้น
4. คำตอบเป็นอย่างอื่น
-----------------------------------------------------------------------------------------

3.) จงหาค่าต่อไปนี้
ก. จงหาค่าความต้านทานเชิงความจุของตัวเก็บประจุที่มีความจุ 126 ไมโครฟารัดและความต้านทานเชิงเหนี่ยวนำ ที่มีความเหนี่ยวนำ 70 มิลลิเฮนรี่ เมื่อต่อเข้ากับไฟฟ้ากระแสสลับความถี่ 10 เฮิรตซ์
ข. ที่ความถี่ใดความต้านทานเชิงความจุของตัวเก็บประจุและความต้านทานเชิงเหนี่ยวนำ ของตัวเหนี่ยวนำมีค่าเท่ากัน
-----------------------------------------------------------------------------------------

4.) ตัวต้านทานขนาด 1 โอห์ม ตัวจุและตัวเหนี่ยวนำต่อกับไฟฟ้ากระแสสลับ ทำให้ความต้านทานของตัวจุและตัวหนี่ยวนำมีค่า 1 และ2 โอห์ม ตามลำดับ ให้หาค่าความขัดของวงจร เมื่อทั้งสองต่อกันในแบบ
ก. อนุกรม
ข. ขนาน
-----------------------------------------------------------------------------------------

5.) ส่วนประกอบของวงจรไฟฟ้าที่มีกระแสสลับเป็น i เมื่อ i = 2sin 500 t แอมแปร์ ที่เวลา t = 0 ความต่างศักย์ระหว่างปลายของขดลวดเหนี่ยวนำ 20 มิลลิเฮนรี่ จะมีค่ากี่โวลต์
-----------------------------------------------------------------------------------------

6. ตัวจุและตัวเหนี่ยวนำต่อกันอย่างขนาน และต่อกับไฟฟ้ากระแสสลับ ตัวจุมีความต้านทาน 25 โอห์ม ตัวเหนี่ยวนำมีความต้านทาน 1 โอห์ม และมีความต้านทานแห่งการเหนี่ยวนำ 4โอห์ม ความต่างศักย์ระหว่างสองจุดที่ต่อขนานกันมีค่า 100 โวลต์ จงหากระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวจุ
ก. กระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวเหนี่ยวนำ
ข. กระแสไฟฟ้ารวม
ค. มุมเฟสระหว่างกระแสรวมกับความต่างศักย์ 100 โวลต์นั้น
-----------------------------------------------------------------------------------------

7. ตัวต้านทาขนาด 40 โอห์ม ขดลวดเหนี่ยวนำขนาด 0.04 เฮนรี่ และตัวจุขนาด 40ไมโครฟารัด ต่อกันอย่างอนุกรม และต่อกับไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งมีความต่างศักย์ 220 โวลต์ และความถี่เชิงมุม 500 เรเดียนต่อวินาที ให้หาค่าของกระแสไฟฟ้า มุมเฟสระหว่างกระแสไฟฟ้ากับความต่างศักย์ทั้งหมดและความต่างศักย์ระหว่างปลายของแต่ละอัน
-----------------------------------------------------------------------------------------

8. ตัวเก็บประจุมีความจุ 30 ไมโครฟารัด ต่อกับเครื่องกำเนิดสัญญาณรูปไซน์ ที่เปลี่ยนความถี่ได้ ถ้าแหล่งกำเนิดนี้ให้แรงเคลื่อนไฟฟ้า 2 โวลต์ จงหาค่าความถี่ของเครื่องกำเนิดนี้ที่ทำให้มีกระแสผ่านตัวเก็บประจุ 0.5 มิลลิแอมแปร์
-----------------------------------------------------------------------------------------

9. จงหาค่าต่อไปนี้
ก. ค่าความต้านทานของตัวเหนี่ยวนำขนาด 10 เฮนรี่ ที่ความถี่ 60 เฮิรตซ์ และ 600 เฮิรตซ์
ข. ให้หาค่าความต้านทานของตัวจุขนาด 10 ไมโครฟารัด ที่ความถี่เดียวกับ ข้อ ก.
ค. ที่ความถี่เท่าใด ตัวเหนี่ยวนำในข้อ ก. และตัวจุในข้อ ข. จึงจะมีความต้านทานเท่ากัน
-----------------------------------------------------------------------------------------

10. เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับที่มีความถี่ 10 Hz ให้ค่ายังผลของแรงเคลื่อนไฟฟ้า 10 โวลต์ และ ค่ายังผลของกระแสในวงจร เมื่อต่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้านี้กับ
ก. ตัวต้านทานที่มีความต้านทาน 10 โอห์ม
ข. ตัวเก็บประจุที่มีความจุ 33 ไมโครฟารัด
ค. ตัวเหนี่ยวนำที่มีความเหนี่ยวนำ 20 มิลลิเฮนรี
-----------------------------------------------------------------------------------------

แหล่ง กำเนิดไฟฟ้า

แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากพลังงานแสง

14.gif


เกิดจากการที่แสงผ่านกระแสไฟฟ้า จากพลังงานสารกึ่งตัวนำ เพราะว่า
เมื่อสารกึ่งตัวนำได้รับแสง อิเล็กตรอนภายในสารหลุดออกมา และเคลื่อนที่ได้
แหล่งกำเนิดไฟฟ้านี้ที่ ใช้อยู่ปัจจุบันเรียกว่า โฟโตเซลล์ (Photo Cell)ใช้
ในเครื่องวัดแสง ของกล้องถ่ายรูป การปิดเปิดประตูลิฟต์และระบบนิรภัย เป็นต้น

image7_solarcell.jpg


แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากพลังงานความร้อน

15.gif

EM4.jpg

กระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นจากพลังงานความ ร้อนโดยการนำโลหะ 2 ชนิดมายึด
ติดกัน แล้วให้ความร้อน จะเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในแท่งโลหะทั้งสอง เช่น
ใช้ทองคำขาวกับคอนสแตนตันยึด ปลายข้างหนึ่งให้ติดกัน และปลายอีก
ด้านหนึ่งของโลหะ ทั้งสองต่อเข้ากับเครื่องวัดไฟฟ้า กัลวานอร์มิเตอร์
เมื่อใช้ความร้อนเผา ปลาย ของโลหะที่ยึดติดกันนั้น พลังงานความร้อนจะ
ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า ขึ้น เกิดกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเครื่องวัดไฟฟ้า


แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากแรงกด

16.gif

กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากแรงกด สารที่ถูกแรงกด หรือดึง จะเกิดกระแสไฟฟ้า
ผลึก ของ ควอตซ์ ทัวร์มาไลท์และเกลือโรเซลล์ เมื่อนำเอาผลึกดังกล่าวมา
วางไว้ระหว่าง โลหะทั้งสองแผ่น แล้วออกแรงกด สารนี้จะมีไฟฟ้าออกมา
ที่ปลายโลหะทั้งสอง พลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้ต่ำมาก นำไปใช้ทำไมโครโฟน
หูฟัง โทรศัพท์ หัวปิคอัพของเครื่องเล่นจานเสียง เป็นต้น

ไดนาโม

ไดนาโม เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า มีส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ ขดลวดที่พันอยู่รอบแกน เรียกว่า อาเมเจอร์ (armature) แม่เหล็ก 2 แท่ง หันขั้วต่างกันเข้าหากัน เพื่อให้เกิดสนามแม่เหล็กโดยจะมีเส้นแรงแม่เหล็กพุ่งจากขั้วเหนือไปยังขั้ว ใต้ และบริเวณขั้วจะมีความเข้มของสนามแม่เหล็กมากกว่าบริเวณอื่นๆ

หลัก การเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้า
หลักการเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้า จากไดนาโม อาจทำได้ดังนี้

การหมุนขดลวดตัดสนามแม่เหล็ก จะทำให้สนามแม่เหล็กเปลี่ยนแปลง จึงเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ( พ . ศ . 2334-2410) เป็นผู้ค้นพบหลักการที่ว่า “ กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กที่ผ่านขดลวด ”


ถ้า ต้องการสร้างไดนาโมให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น สามารถทำได้ดังนี้

เพิ่ม จำนวนรอบของขดลวด

หมุนขดลวดให้เร็วขึ้น

เพิ่มแรงขั้วแม่ เหล็ก



ไดนาโมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

1. ไดนาโมไฟฟ้ากระแสสลับ AC Dynamo

ประกอบด้วยแท่งแม่เหล็ก 2 แท่ง ขดลวด และแหวนลื่นโดยแหวนลื่น 2 วงสัมผัสกับแปรงตัวนำไฟฟ้าซึ่งจะรับกระแสไฟฟ้าจากขดลวดออกสู่วงจรภายนอก


2. ไดนาโมไฟฟ้ากระแสตรง DC Dynamo

ประกอบด้วยแท่งแม่เหล็ก 2 แท่ง ขดลวด และแหวนแยกโดยแหวนแยกแต่ละอันสัมผัสกับแปรงตัวนำไฟฟ้าซึ่งจะรับ

กระแส ไฟฟ้าจากขดลวดออกสู่วงจรภายนอก

ไดนาโมกระแสตรง (Dirct current dynamo)

หมายถึง ไดนาโมที่ผลิตไฟกระแสตรง (D.C.) ส่วนประกอบเหมือนกับไดนาโมกระแสสลับทุกอย่างต่างกันแต่วงแหวนเท่านั้น

ไดนาโม กระแสตรงใช้วงแหวนผ่าซีก (Split ring) ซึ่งเรียกว่า คอมมิวเตเตอร์ (Commutator) แต่ละซีกมีลักษณะเป็นครึ่งวงกลมติดต่ออยู่กับปลายของขดลวดปลายละซึก ครึ่งวงแหวนแต่ละซีกแต่อยู่กับแปรง แปรงละซีกแปรงทั้งสองติดต่อกับวงจรภายนอกเพื่อนำกระแสไฟไปใช้ประโยชน์ดังรูป จากการดัดแปลงแหวนให้เป็นคอมมิวเตเตอร์ เมื่อใช้หลังงานกลมาหมุนขดลวดให้ตัดเส้นแรงแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้าเหนี่ยว นำเข้าสู่วงจรภายนอก โดยมีทิศทางการไหลเพียงทิศเดียวตลอดเวลา กระแสไฟฟ้าที่ได้จึงเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (D.C.)

dynamo)


เป็น ไดนาโมที่ผลิตกระแสไฟฟ้าสลับ (A.C.) ออกมาใช้งาน กระแสสลับ คือกระแสไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลสลับไปกลับมาอย่างรวดเร็วมากอยู่ตลอดเวลา ในไดนาโมที่ใช้งานจริงๆ ใช้ขดลวดตัวนำหลายขดให้เคลื่อนที่ตัดเส้นแรงแม่เหล็กเราเรียกขดลวดตัวนำที่ เคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กนี้ว่า อาร์มาเจอร์ (Armture) สำหรับการศึกษาเบื้องต้นจะพิจารณทขดลวดพียงขดเดียว ไดนาโมกระแสสลับประกอบด้วย แท่งแม่เหล็ก 2 แท่ง วางขั้วต่างกันเข้าหากัน และมีขดลวดตัวนำอยู่ตรงกลาง ดังรูป ปลายด้านหนึ่งของขดลวดติดต่อกับวงแหวนลื่น (Slip ring) (R) อีกปลายหนึ่งของขดลวดติดอยู่กับวงแหวนลื่น R' วงแหวน R แตะอยู่กับแปรง B ส่วนวงแหวน R' แตะอยู่กับแปรง B' เมื่อขดลวดหมุดวงแหวนทั้งสองจะหมุนตามไปด้วยโดยแตะกับแปรงอยู่ตลอดเวลา แปรงทั้งสองติดอยู่กับวงวจรภายนอกเพื่อนำกระแสไฟฟ้าออกไปใช้ประโยชน์เมื่อ ใช้พลังงานกลมาหมุนขดลวด ขดลวดเคลื่อนที่ตัดเส้นแรงแม่เหล็ก ก่อให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นในขดลวด เมื่อขดลวดนี้ต่อครบวงจรกับความต้านทานภานนอกแล้ว ย่อมได้กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำไหลในวงจรเหนี่ยวนำไหลในวงจร


index.php.jpg

index2.php.jpg

การกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ

ค่าของแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับจะเกิดขึ้นมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของขดลวดตัวนำขณะหมุนตัดกับเส้นแรงแม่เหล็กในสนามแม่ เหล็กนั้น ถ้าทิศทางการเคลื่อนที่ของขดลวดตัวนำตั้งฉากกับเส้นแรงแม่เหล็ก แรงดันไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะมีค่าสูงสุดและจะมีค่าน้อยลง เมื่อทิศทางการเคลื่อนที่ของขดลวดตัวนำตัดกับเส้นแรงแม่เหล็กในมุมน้อยกว่า 90๐ และจะมีค่าเป็นศูนย์เมื่อขดลวดตัวนำวางขนานกับเส้นแรงแม่เหล็ก

Picture401.gif

จะเห็นว่าใน 1 วัฎจักรของการหมุนขดลวดตัวนำ คือ หมุนไป 360๐ ทางกลน้ำจะเกิดรูปคลื่นไซน์ 1 ลูกคลื่น หรือ 1 วัฎจักร ถ้าขดลวดตัวนำนี้หมุนด้วยความเร็วคงที่และสภาพของเส้นแรงแม่เหล็กมีความหนา แน่นเท่ากันตลอด รอบพื้นที่ของการตัดแรงดันไฟฟ้าสลับรูปคลื่นไซน์ที่จะมีค่าคงที่และถ้ามีการ หมุนของขดลวดต่อเนื่องตลอดไป จะทำให้เกิดจำนวนรอบของแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำต่อเนื่องกันไป นั่นคือการเกิดแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ

Picture402.gif

ประวัติผู้คิดค้นไดนาโม

ไมเคิล ฟาราเดย์ : Micheal Faraday

168584.jpg


เกิด วันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1791 ที่กรุงลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ (England)
เสียชีวิต วันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1867 ที่กรุงลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ (England)
ผลงาน - ค้นพบสมบัติของแม่เหล็กที่ทำให้เกิดไฟฟ้า
- ประดิษฐ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือไดนาโม (Dynamo)
- นำเหล็กมาผสมกับนิกเกิล เรียกว่า สแตนเลส ซึ่งมีสมบัติเหนียว และไม่เป็นสนิท
- พบสารประกอบเบนซีน (Benzene)
- บัญญัติศัพท์ทางวิทยาศาสตร์หลายคำ เช่น
ไอออน (lon) หมายถึง ประจุ
อิเล็กโทรด (Electrode) หมายถึง ขั้วไฟฟ้า
คาโทด (Cathode) หมายถึง ขั้วลบ
แอโนด (Anode) หมายถึง ขั้วลบ

ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีความสำคัญและความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อีกด้วย
แม้ว่าจะเป็นเช่นนั้น แต่การสร้างกระแสไฟฟ้าขึ้นมาก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ในปัจจุบันกระแสไฟฟ้าผลิตขึ้นได้จากพลังงานหลายรูปแบบ
ทั้งน้ำมัน น้ำ ลม และปรมาณู และฟาราเดย์ผู้นี้เองที่ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เรียกว่า "ไดนาโม (Dynamo)" ซึ่งเป็น
ต้นแบบของเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้าในปัจจุบัน

ฟาราเดย์เกิดเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1791 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษครอบครัวของเขาค่อนข้างยากจน บิดาของเขา
มีอาชีพเป็นช่างตีเหล็ก และรับจ้างใส่เกือกม้าทำให้เขาได้รับการศึกษาน้อย ฟาราเดย์ได้รับการศึกษาเพียงชั้นประถมเท่านั้น ก็ต้องลา
ออกเพื่อหางานทำตั้งแต่อายุ 13 ปี อาชีพแรกของฟาราเดย์ คือ เด็กส่งหนังสือพิมพ์ในร้านขายหนังสือแห่งหนึ่งด้วยความขยัน
ต่อมาเจ้าของร้านหนังสือได้ให้ฟาราเดย์มาเย็บปกหนังสือ แทนที่จะต้องออกไปตระเวนข้างนอก ซึ่งเป็นโอกาสที่ทำให้ฟาราเดย์ได้
อ่านหนังสือหลายประเภท รวมถึงหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้วย ครั้งหนึ่งฟาราเดย์มีโอกาสได้อ่านหนังสือของเจน มาเซต
(Jane Marcet) เกี่ยวกับวิชาเคมีชื่อว่า Conversations in Chemistry และหนังสือสารานุกรมบริตันนิกา (Encyclopedia
Britannica) ซึ่งมีเรื่องเกี่ยวกับไฟฟ้าด้วยหลังจากนั้นฟาราเดย์ได้ทำการทดลองตามหนังสือ เล่มนี้และจากนั้นฟาราเดย์ก็มีความ ตั้งใจที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ให้ได้ในวันหนึ่ง

ในปี ค.ศ. 1813 ฟาราเดย์มีโอกาสได้เข้าฟังการปาฐกถาของเซอร์ฮัมฟรี เดวี่ (Sir Humphry Davy) เกี่ยวกับวิชาเคมี
ที่ราชบัณฑิตยสภา (Royal Institution) ฟาราเดย์ให้ความสนใจฟังปาฐกถาครั้งนี้มากถึงขนาดจดคำบรรยายไว้อย่างละอียด
หลังจากนั้นเขาได้ทำการคัดลอดใหม่อย่างเรียบร้อย และใส่ปกอย่างสวยงาม ส่งไปให้เดวี่ พร้อมกับจดหมายอีก 1 ฉบับ
ใจความในจดหมายเป็นเรื่องเกี่ยวกับความต้องการจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ของเขา หลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ความฝันของฟาราเดย์
ก็เป็นจริง เมื่อเดวี่ตอบรับจดหมาย พร้อมกับชวนฟาราเดย์ไปทำงานในหน้าที่ผู้ช่วยของเขา แม้ว่าหน้าที่ของฟาราเดย์จะแค่ล้าง หลอดแก้ว อ่างทดลอง หรือล้างเครื่องมือทดลองอื่น ๆ แต่เขาก็รู้สึกดีใจที่ได้ทำงานนี้ เพราะทำให้เขามีโอกาสใกล้ชิดกับ
นักวิทยาศาสตร์ อย่างเดวี่ และมีโอกาสได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อีกด้วย กาสรที่ฟาราเดย์อ่านหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
มากมาย ทำให้เขาเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ดีผู้หนึ่ง อีกทั้งเขาเป็นคนละเอียดถี่ถ้วน ช่างจดจำ และขยัน เป็นที่ถูกใจของ
เดวี่ และได้เลื่อนตำแหน่งฟาราเดย์ให้เป็นเลขาส่วนตัวของเขา มีหน้าที่ติดตาม และบันทึกคำบรรยายในการปาฐกถาของเดวี่ทุกครั้ง
จึงนับว่าเป็นโอกาสที่ดีของฟาราเดย์ที่จะได้เดินทางไปในสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งทำให้เขาได้ศึกษางานด้านวิทยาศาสตร์ และมีโอกาส
ได้รู้จักกับนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน

ต่อมาในปี ค.ศ. 1816 ภายหลังจากการเดินทางไปตามสถานที่ต่าง ๆ หลายแห่ง ทำให้ฟาราเดย์เป็นผู้ที่มีความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์มากคนหนึ่งเลยทีเดียว ประกอบกับเขาเป็นที่รักใคร่ของเดวี่ เดวี่จึงให้โอกาสฟาราเดย์ขึ้นแสดงปราฐกถาเกี่ยวกับวิชา
เคมี ซึ่งแม้จะเป็นครั้งแรกฟาราเดย์ก็สามารถทำได้ดี หลังจากแสดงปราฐกถาเพียงไม่กี่ครั้ง ประชาชนให้ความสนใจเข้าฟังการ
ปาฐกถาของฟาราเดย์อย่างคับคั่ง ทำให้เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากขึ้น พร้อมกันนั้นเขายังได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการ
ห้องทดลองของราชบัณฑิตยสภา (Royal Institution) อีกด้วยและต่อมาในปี ค.ศ. 1824 ฟาราเดย์ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็น
สมาชิกของราชบัณฑิตยสภาด้วยและในปี ค.ศ. 1833 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตรจารย์วิชาเคมีประจำราชบัณฑิตยสภา

ฟาราเดย์มีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้ามาก ครั้งหนึ่งระหว่างที่เขาเป็นเลขานุการของเดวี่ เขาได้ติดตามเดวี่ไปยังกรุงโรม
(Rome) ประเทศอิตาลี (ltaly) เขาได้พบกับเคานท์อเลสซานโดรโลตา (Alessandro Volta) นักฟิสิกส์ผู้ค้นพบเซลล์ไฟฟ้า
ซึ่งเขาตั้งชื่อว่าโวลตาอิค เซลล์ (Voltaic Cell) โดยการนำเซลล์มาต่อเข้าด้วยกันแบบอนุกรม และประดิษฐ์แบตเตอรี่ไฟฟ้าขึ้น
อีกทั้งในระหว่างนั้นมีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากได้ทำการทดลองเกี่ยวกับไฟฟ้า เช่น ฮานน์ คริสเตียน เออร์สเตด (Hans
Christian Oersted) เกี่ยวกับการนำเข็มทิศเข้าไปใกล้ ๆ กับลวดที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ ปรากฏว่าเข็มทิศหันออกไปในทิศทางอื่น
แทนทิศเหนือ นอกจากนี้ยังมีการทอลองของอังเดร มารี แอมแปร์ (Andre Marie Ampere) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศล
ซึ่งผลการทดลองสรุปได้ว่าไฟฟ้ามีอำนาจทำให้เกิดแม่เหล็ก และสามารถทำให้แท่งเหล็กธรรมดากลายเป็นแม่เหล็กไฟฟ้าได้จาก
ผลงานการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ 2 ท่านนี้ ทำให้ฟาราเดย์มีความสนใจเกี่ยวกับไฟฟ้ามากขึ้นและเริ่มทำการทดลองดูเองบ้าง
ปรากฏว่าได้ผลตามนั้นจริง ๆ ทำให้ฟาราเดย์มีความคิดว่าในเมื่อไฟฟ้าสามารถทำให้แท่งเหล็กธรรมดากลายเป็น แม่เหล็กไฟฟ้าได้
เพราะฉะนั้นแม่เหล็กตามธรรมชาติก็น่าจะมีกระแสไฟฟ้าอยู่ ดังนั้นฟาราเดย์จึงทำให้การทดลองโดยการนำลวดมาพันแบบ
โซเลนอยด์ (Solenoid) คือ ใช้ขดลวดมาพันซ้อนกันจนเป็นรูปทรงกระบอก จากนั้นต่อปลายทั้ง 2 ข้างเข้ากับเครื่องวัดกระแสไฟฟ้า
ปรากฏว่าเข็มของเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าไม่กระดิก แสดงว่าขดลวดไม่มีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นภายในขดลวด และเมื่อดึงแท่งแม่เหล็ก
ออกมาปรากฏว่าเข็มไม่กระดิก จากนั้นฟาราเดย์จึงดึงแท่งแม่เหล็กขึ้นลงหลาย ๆ ครั้งติดต่อกันทำให้เข็มกระดิกไปมาลักษณะเช่นนี้
แสดงว่ามีการเกิดกระแสไฟฟ้าช่วงนั้น ๆ ขณะที่แม่เหล็กเคลื่อนที่กับขดลวดเรียกว่า "กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ" การทดลองของ
ฟาราเดย์ไม่ได้หยุดแต่เพียงเท่านี้ เขาทำการทดลองต่อไปเนื่องจากเกิดความสงสัยว่า ถ้าสิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ใช่แท่งแม่เหล็กแต่เป็น
โซเลนอยด์จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าหรือไม่ ผลการทดลองปรากฏว่าทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้เช่นกันแต่การเคลื่อนที่ตัดกัน
ต้องเป็นไปในลักษณะตั้งฉากเท่านั้น จึงจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ส่วนการเคลื่อนที่แบบขนานกันจะไม่ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า
และจากผลการทดลองครั้งนี้ฟาราเดย์ได้นำไปประดิษฐ์เครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้า ชื่อว่า ไดนาโม (Dynamo) ซึ่งเป็นเครื่องที่
เปลี่ยนพลังงานกล เช่น พลังงานไอน้ำ พลังงานลม และพลังงานความร้อน เป็นต้น มาใช้ในการทำให้ขดลวดหมุนเพื่อที่จะเคลื่อน
ที่ตัดกับเส้นแรงแม่เหล็กในสนามแม่เหล็ก โดยใช้หลักการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้า และการที่ไดนาโมจะผลิตกระแสไฟฟ้า
ออกมาได้มากแค่ไหนขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ คือ
1. ความเร็วของขดลวดตัวนำ และแท่งแม่เหล็ก ถ้าเคลื่อนที่ตัดกันเร็วก็จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าการเคลื่อนที่ช้า
2. จำนวนขดลวดในโซเลนอยด์ ถ้าจำนวนมากขึ้นเท่าไรก็ยิ่งทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้สูงมากเท่านั้น

ฟาราเดย์เผยแพร่ผลงานชิ้นนี้ออกไปในปี ค.ศ. 1822 ในหนังสือที่มีชื่อว่า Experimental Researches in Elctriity
ต่อมาในปี ค.ศ. 1825 ฟาราเดย์ได้ทำการทดลองต่อไปอีก โดยการนำขดลวดอีกเส้นหนึ่งไปวางไว้ใกล้ ๆ กับขดลวดที่มีไฟฟ้า
ปรากฏว่าขอลวดเส้นใหม่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ ผลจากการทดลองครั้งนี้ฟาราเดย์สามารถสรุปได้ว่าแม่เหล็กไฟฟ้ามีอำนาจทำให้ เกิด
กระแสไฟฟ้าในขดลวดอันที่ 2 ได้ จากการทดลองครั้งนี้เป็นที่มาของหม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) ซึ่งมีประโยชน์อย่างมาก
ในการแปลงศักย์ไฟฟ้าให้ได้สูงต่ำตามต้องการ และในปีเดียวกันนั้นเขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ
ราชบัณฑิตยสภา (Royal Institution) ต่อมาในปี ค.ศ. 1833 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์วิชาเคมีประจำ ราชบัณฑิตยสภาอีกด้วย

แม้ว่าเขาจะประสบความสำเร็จทั้งชื่อเสียง และเงินทอง เขาก็ยังไม่หยุดทำการทดลองค้นคว้าต่อไป ฟาราเดย์ได้ทำการ
ทดลองเกี่ยวกับไฟฟ้า จนในที่สุดเขาสามารถใช้ไฟฟ้าในการแยกธาตุ และชุบโชหะได้เป็นผลสำเร็จ นอกจากนี้แล้วเขายังนำโลหะ
2 ชนิดมาผสมกัน คือ เหล็กและนิกเกิล เพื่อให้มีสมบัติที่เหนียว และไม่เป็นสนิท โดยเรียกโลหะผสมชนิดนี้ว่า สแตนเลส
(Stainless) พบสารประกอบเบนซีน และบัญญัติศัพท์ทางไฟฟ้าหลายคำ เช่น ไออน (lon) หมายถึง ประจุอิเล็กโทรด
(Electrode) หมายถึง ขั้วไฟฟ้า คาโทด (Cathode) หมายถึง ขั้นลบ แอโนด (Anode) หมายถึง ขั้วบวก เป็นต้น

ในปี ค.ศ. 1861 ฟาราเดย์ได้ลาออกจากงานในราชบัณฑิตสภา เนื่องจากเขาอายุมากแล้ว อีทั้งสุขภาพก็เสื่อมโทรม หลังจาก
นั้นอีก 6 ปีเขาก็ล้มป่วย และเสียชีวิตในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1867